วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย]

 
 
 
 
 
ลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1.
รัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
3. พระราชบัญญัติ
4. พระราชกำหนด
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. กฎหมายที่ตราโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายที่กำหนดรูปแบบของการปกครองและระเบียบบริหารประเทศ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ของประชาชนพลเมืองในประเทศนั้นรัฐธรรมนูญจึงเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงสุด เป็นกฎหมายที่สำคัญกว่ากฎหมายฉบับใดทั้งสิ้นและเป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน จะมีกฎหมายฉบับใดออกมาขัดแย้งรัฐธรรมนูญฯ มิได้ หากมีกฎหมายฉบับใด เรื่องใดออกมาขัดกับรัฐธรรมนูญฯ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ เนื่องจากขัดกับกฎหมายแม่บทที่ยึดถือเป็นหลักในการปกครองบริหารประเทศ กฎหมายฉบับอื่น ๆ ที่ออกมาย่อมต้องสนองรับหลักการและนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

2) พระ ราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ ตามที่บัญญัติเป็นขั้นตอนไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยความเห็นขอบของรัฐสภา ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งปวง และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย จึงเป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา โดยความเห็นชอบของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ดังที่กล่าวกันว่า พระราชบัญญัติคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของ รัฐสภา ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมายโดยทั่วไปนั้น โดยวิธีปกติธรรมดาจะออกในรูปพระราชบัญญัติเสมอ แต่ถ้าหากกฎหมายฉบับใดมีลักษณะครอบคลุมเรื่องที่เกี่ยวพันกันหลายเรื่องก็ อาจจะออกในรูปประมวลกฎหมายได้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญาประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัฐฎากร เป็นต้น แต่ประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องมีพระราชบัญญัติบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้น ๆ อีกทีหนึ่ง

3) พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ เช่น มีความจำเป็นรีบด่วน ในอันที่จะรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศจึงไม่อาจรอให้ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมายมาตาม วิธีปกติได้ทันการณ์พระราชกำหนดมีศักดิ์เทียบเท่ากับพระราชบัญญัติ แต่เมื่อตราขึ้นใช้แล้วจะต้องนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (ตามที่รัฐธรรมนูญฯ จะกำหนดไว้ เช่น สอง หรือสามวัน) ถ้ารัฐสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นพระราชบัญญัติ แต่ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดนั้นก็ตกไปหรือสิ้นผลบังคับ การต่าง ๆ ที่เป็นไประหว่างที่มีพระราชกำหนดก็ไม่ถูกกระทบกระเทือนเพราะเหตุที่พระราช กำหนดต้องตกไปเช่นนั้น

4) ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโองการได้ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ได้ให้พระราชอำนาจไว้ โดยให้ออกเป็นประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ ปกติประกาศพระบรมราชโอการฯ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชกำหนด กล่าวคือในยามที่มีสถานะสงคราม หรือในภาวะคับขันถึงขนาดอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาอาจขัดข้องหรือไม่เหมาะกับสถานการณ์ รัฐธรรมนูญบางฉบับจะมีบทบัญญัติให้คณะรัฐมนตรีนำความขึ้นกราบทูลต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อให้พระองค์ทรงใช้อำนาจโดยประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ จึงทำให้ประกาศพระบรมราชโองการฯ มีศักดิ์เทียบกับพระราชบัญญัติ เช่นเดียวกับพระราชกำหนด แต่ประกาศพระบรมราชโองกาฯ ไม่เป็นกฎหมายที่ใช้ชั่วคราวดังเช่นพระราชกำหนด ที่จะต้องรีบให้รัฐสภาอนุมัติโดยด่วน ประกาศพระบรมราชโองการฯ จึงเป็นกฎหมายที่ถาวรจนกว่าจะมีการยกเลิกโดยพระราชบัญญัติหรือกฎหมายอื่น

5) พระราชกฤษฎีกา คือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี เป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติฉบับใดฉบับหนึ่ง หรือโดยที่พระมหากษัตริย์ ทรงใช้อำนาจตราขึ้นเป็นพิเศษ โดยไม่ขัดต่อ กฎหมาย พระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดและประกาศพระบรมราชโองการฯ และจะขัดกับกฎหมายใดที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ โดยปกติพระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดสืบเนื่องมาจากความในพระ ราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดจึงเป็นการประหยัดเวลาที่รัฐสภาไม่ต้องพิจารณาใน รายละเอียดคงพิจารณาแต่เพียงหลักการและนโยบายที่จะต้องบัญญัติในกฎหมายหลัก แล้วจึงให้อำนาจมาออกพระราชกฤษฎีกาภายหลัง ซึ่งเป็นการสะดวกที่ฝ่ายบริหารจะมากำหนดรายละเอียดในทางปฏิบัติเองและยัง เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้เหมาะสมแก่เหตุการณ์ได้ง่าย เพราะฝ่ายบริหารสามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนนิติบัญญัติดังเช่นการ ออกพระราชบัญญัติ อนึ่ง มีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เช่น พระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภา พระราชกฤษฎีกาเหล่านี้มีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น

6) กฎกระทรวง คือกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออกเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้น ๆ และโดยปกติกฎหมายหลักจะระบุให้อำนาจในการออกกฎกระทรวงในแต่ละกรณีไว้ กฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา แต่แตกต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่แตกต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่า ถ้าเป็นเรื่องสำคัญมากก็จะออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ถ้าสำคัญรองลงมาก็ออกเป็นกฎกระทรวง เนื่องจากกฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บทจึงไม่อาจจะขัดกับกฎหมายที่เป็นแม่บทนั้นเอง และกฎหมายอื่นๆ ที่มีศักดิ์สูงกว่าได้นอกจากฎกระทรวง หากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ ก็อาจจะออกระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศเพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย

7) เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล ต่างเป็นกฎหมายที่ได้รับอำนาจจากพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 และพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 ตามลำดับ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายเหล่านี้ คือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและสุขาภิบาล ซึ่งเป็นองค์กรที่ปกครองตนเอง ต่างก็มีอำนาจตามกฎหมายแต่ละฉบับที่จะออกกฎหมายเพื่อบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรที่มีอยู่ในกฎหมาย แต่การออกกฎหมายระดับนี้ย่อมจะขัดต่อกฎหมายในระดับต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ได้ เพราะเป็นกฎหมายที่ใช้เฉพาะในท้องถิ่นนั้น ๆ ต่างกับกฎหมายอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วนั้น ล้วนแต่เป็นกฎหมายซึ่งมีผลใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น