วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติกานปกครองสมัยสุโขทัย



การปกครองของไทยแต่เดิมก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการปกครองชาติอื่นๆ คือมีการรวมกลุ่มกันอยู่
เป็นหมู่เป็นเหล่าบางแห่งก็รวมกันเข้าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบให้ความ
คุ้มครองป้องกันภยันตรายตามควรแก่ฐานะทำนองหัวหน้าหรือนายกับลูกน้อง(Master and slave) อำนาจ
หน้าที่และความรับผิดชอบของกลุ่มตกอยู่แก่หัวหน้าสิ้นเชิง โดยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องกำกับ
ยึดเหนี่ยว ต่อมาเมื่อมีพลเมืองเพิ่มมากขึ้นปัญหาเรื่องการทำมาหากินโดยอาศัยผืน    แผ่นดินเป็นหลักและ
ความสำคัญในเรื่องพื้นที่และดินแดนจึงเกิดขึ้น มีการกำหนดของอาณาเขตการปกครองของกลุ่มและหมู่ชน
      ชนชาติไทยเป็นกลุ่มชนชาติใหญ่ที่มีระเบียบการปกครองและวัฒนธรรมสูง จีนยกย่องเรียกว่า "ไต๋"
"ชาติใหญ่" ประกอบกับชาวไทยมีคุณธรรมประจำชาติดังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชา
นุภาพทรงกล่าวว่า ชนชาติไทยมีคุณธรรม 3 ประการ เป็นสำคัญจึงสามารถปกครองประเทศสยาม  ได้คือ
ความรักอิสระของชาติความปราศจากวิหิงสาและความฉลาดในการประสานประโยชน์ถ้าจะเรียกเป็นภาษา
อังกฤษ คือ Love of national independence, Toleration and Power of assimilation สำหรับการจัดรูปการ
ปกครองของไทยแต่เดิม จากพงศาวดารและหลักฐานอ้างอิง  พอสันนิฐานได้ว่าไทยในสมัยน่านเจ้านั้นการ
ปกครองในส่วนกลางแบ่งออกเป็น 9 กระทรวง คือ

  1. ฮินสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงมหาดไทย
  2. โม่วสอง     เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงกลาโหม
  3. ม่านสอง    เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงการคลัง
  4. ยันสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงการต่างประเทศ
  5. หว่อสอง     เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงพาณิชย์
  6. ฝัดสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงยุติธรรม
  7. ฮิดสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงโยธาธิการ
  8. จุ้งสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงสำมะโนครัว
  9. ฉื่อสอง      เทียบกับปัจจุบันได้แก่      กระทรวงวังหรือราชประเพณี
      การบริหารงานของราชการส่วนกลางมีอภิรัฐมนตรีรัฐมนตรีหรือเสนาบดี ปลัดกระทรวง อธิบดีเจ้า
กรมปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบตามลำดับส่วนการปกครองในภูมิภาคแบ่งเขตการปกครองเป็นมณฑล
แต่ละมณฑลมีเมืองเอกโทตรีและจัตวามีหัว หน้าปกครองลดหลั่นกันไปได้แก่เจ้าหัวเมืองเอกเจ้าหัวเมืองโท
เจ้าหัวเมืองตรีและเจ้าหัวเมืองจัตวาแต่ละเมืองแบ่งออกเป็น    แขวงมีนายอำเภอเป็นหัวหน้ารองจากแขวง
เป็นแคว้นมีกำนันเป็นหัวหน้าจากแคว้นจึงเป็นหมู่บ้านมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้ารับผิดชอบซึ่งรูปแบบการปก
ครองดังกล่าว นี้มีลักษณะคล้ายกับการปกครองในแบบปัจจุบันมาก



อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น   และภูเขาพนมดงรัก
ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัย
แก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921  และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศ
ราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย   เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนใน
ครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนในครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์  James N. Mosel   ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ
การปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อ
ปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น   มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปก
ครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี  สำหรับการ
ปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เรื่องลักษณะการปกครองประ
เทศสยาม  แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น     นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของ
ประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น  บิดาปกครองครัวเรือนหลาย
ครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง   เรียกว่า ลูกบ้าน  หลายบ้านรวมกันเป็น
เมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง    ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกัน
เป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน  วิธีการปกครองของ
ไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง   คำว่า
ปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง     พระเจ้าแผ่นดิน
สมัยสุโขทัยตอนต้น    ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน    จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้
เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์    ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูก
ได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา     ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้
พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ  พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่ม
เย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะ
เป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร  อย่างไรก็ดีการที่จะ
ใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้
วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง
หลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดา
จะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูก
ฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนด
ความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่ง
ที่หวังได้โดยยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น